ในช่วงกลางเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ จะมีดาวหาง ชื่อ 46P/Wirtanen เป็นดาวหางคาบสั้นขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.2 กิโลเมตร คาบการโคจรประมาณ 5.4 ปี ค้นพบโดย Carl A. Wirtanen มาเยือนโลก โดยคาดการณ์ว่าในช่วงปลายปี 2562 ดาวหางดวงนี้น่าจะมีความสว่างเพิ่มขึ้นจนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
บทความภาพถ่ายดาราศาสตร์
เตรียมพร้อมออกล่าดาวหาง 46P/Wirtanen ช่วงเดือนธันวาคมนี้กัน
ถ่ายทางช้างเผือกเชือกสุดท้าย ปลายปี 2561
ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมาก็ถือว่าเป็นช่วงสุดท้ายของปีนี้ที่เราจะพอสังเกตเห็นใจกลางทางช้างเผือกกันได้ เนื่องจากหลังจากนี้ดวงอาทิตย์ก็จะเคลื่อนที่ไปตรงบริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู ซึ่งเป็นบริเวณของตำแหน่งใจกลางทางช้างเผือกนั่นเอง แต่ความพิเศษของช่วงท้ายปีนี้สำหรับการถ่ายภาพทางช้างเผือก คือเป็นช่วงที่เราจะเห็นทางช้างเผือกตั้งแต่หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ทั้งยังเป็นช่วงที่ท้องฟ้ามักจะใสเคลียร์เพราะเข้าสู่ฤดูหนาวนั่นเอง ดังนั้นคอลัมน์นี้เลยขอเก็บภาพทางช้างเผือกมาอวดกันสักหน่อยครับ
เข้าช่วงเดือนพฤศจิกายน เชิญชวนกันมาถ่ายภาพทางช้างเผือกยามเย็น
ความพิเศษของการถ่ายภาพทางช้างเผือกในช่วงนี้ นอกจากเราจะสามารถสังเกตเห็นแนวใจกลางทางช้างเผือกได้ตั้งแต่หัวค่ำ ยังทำให้เราไม่ต้องทรมานอดหลับอดนอนดึกๆ อีกด้วย และจากสถิติข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา ช่วงพฤศจิกายนของทุกปีประเทศไทยจะเข้าสู่ช่วงปลายฝนต้นหนาว ทัศนวิสัยของท้องฟ้ามักใสเคลียร์เหมาะแก่การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ซึ่งไอเดียที่จะแนะนำในการถ่ายภาพทางช้างเผือกช่วงนี้ สามารถถ่ายได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบทางช้างเผือกแบบตั้งฉาก ทางช้างเผือกกับแสงจักรราศี หรือทางช้างเผือกแบบพาโนรามา แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับทางช้างเผือกกันหน่อย
เลือกจุดโฟกัสอย่างไร เมื่อต้องการถ่ายภาพดวงจันทร์ให้ได้ภาพสวย
สำหรับในคอลัมน์นี้ยังคงเป็นเทคนิคในการถ่ายภาพดวงจันทร์ต่อเนื่องจากคอลัมน์ก่อน โดยจะขอนำเสนอเทคนิคง่ายๆ ในการโฟกัสภาพดวงจันทร์อย่างไรให้ได้ภาพที่คมชัด ซึ่งในการถ่ายภาพดวงจันทร์นั้น ก็มีหลากหลายรูปแบบ หลายไอเดียในการถ่ายภาพ โดยปกติทั่วไปเราก็จถ่ายภาพกันอยู่ 2 แบบ หลักๆ คือ
หลากหลายไอเดียการถ่ายภาพดวงจันทร์
สำหรับคอลัมน์นี้ขอนำเสนอไอเดียการถ่ายภาพดวงจันทร์กันสักหน่อยครับ เผื่อใครที่เริ่มเบื่อการถ่ายภาพทางช้างเผือก นี่เป็นอีกทางเลือกของการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ เลยอยากชวนมาขยันเก็บภาพดวงจันทร์ เป็นคอลเลคชั่นไว้ใช้ในปีหน้ากันครับ เพราะในปีหน้า 2019 ที่จะมาถึงนี้ นักดาราศาสตร์เราถือให้เป็นปีแห่งการฉลองครบรอบ 50 ปี ของการไปเหยียบดวงจันทร์ของ นีล อาร์มสตรอง และ เอ็ดวิน บัซ อัลดริน ด้วยยานอพอลโล 11 ที่ไปถึงพื้นผิวดวงจันทร์เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ปี 1969
เทคนิคการหาตำแหน่งดาวหาง จี-แซด เพื่อการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์
ในเดือนกันยายนนี้ ดาวหาง (21P/Giacobini-Zinner) หรือเรียกสั้นๆว่า “ดาวหาง จี-แซด” จะปรากฏทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณกลุ่มดาวสารถี จากนั้นกลางเดือนจะค่อย ๆ เคลื่อนมาทางทิศตะวันออก เข้าสู่บริเวณกลุ่มดาวคนคู่ ซึ่งในช่วงวันที่ 10-11 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา คาดการณ์ว่าดาวหางจะมีความสว่างมากที่สุด ซึ่งเป็นช่วงที่ดาวหางโคจรเข้ามาใกล้โลกและใกล้ดวงอาทิตย์
ถ่ายภาพในช่วงคลื่น Narrowband เทคนิคจากต่างแดนที่นักดาราศาสตร์เค้าใช้กัน
สำหรับคอลัมน์นี้ขอเอาใจนักถ่ายภาพดาราศาสตร์ประเภท Deep Sky Objects กันหน่อย ซึ่งนักถ่ายภาพประเภทนี้จะเลือกใช้อุปกรณ์การถ่ายภาพที่เรียกว่า CCD ในการบันทึกภาพ และเป็นชนิดแบบขาวดำ ที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกับชุด Filter Wheel โดยในการถ่ายภาพแต่ละครั้ง ต้องถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าผ่าน Filter แต่ละอันเพื่อนำเอาแสงในแต่ละความยาวคลื่นมาผสมสีกันให้ได้ภาพสี
รางวัลภาพถ่ายดาราศาสตร์ชนะเลิศปีนี้ มีเทคนิคดีๆที่อยากให้รู้กัน
ในการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ประจำปี 2561 ปีนี้ มีผู้สนใจส่งภาพเข้าร่วมประกวดกว่า 600 ภาพ โดยในปีนี้มีนักถ่ายภาพหน้าใหม่เริ่มส่งภาพเข้าร่วมประกวดกันมากขึ้นกว่าปีก่อนๆ รวมทั้งมีการใช้เทคนิคการถ่ายภาพและการประมวลภาพถ่ายที่หลากหลายอย่างชัดเจน
ตั้งตารอคอยถ่ายภาพ “ฝนดาวตกวันแม่” 12 สิงหาคม 2561
สำหรับในเดือนสิงหาคมนี้ จะเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ (Perseids Meteor Shower) หรือมักเรียกว่า “ฝนดาวตกวันแม่” สามารถสังเกตการณ์ได้หลังเที่ยงคืนวันที่ 12 สิงหาคมประมาณตีสองครึ่ง จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 13 สิงหาคม คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการตกสูงสุดประมาณ 110 ดวงต่อชั่วโมง มีศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณกลุ่มดาวเพอร์เซอัส บนท้องฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และมีศูนย์กลางการกระจายตัวอยู่ใกล้กับขั้วฟ้าเหนือ สังเกตได้ด้วยตาเปล่า โดยในคืนดังกล่าวไม่มีแสงจันทร์รบกวนเหมาะสำหรับการสังเกตการณ์เป็นอย่างมาก หากฟ้าใสปลอดเมฆดูด้วยตาเปล่าได้ทุกพื้นที่ทั่วไทย