คอลัมน์นี้ขอแนะนำการถ่ายภาพแสงเกเกินไชน์ (Gegenschein) ซึ่งน้อยคนที่จะรู้จัก สำหรับนักดาราศาสตร์นั้น ก็ควรต้องมีโอกาสได้เห็นสักครั้ง เพราะเป็นแสงที่มองเห็นได้ค่อนข้างยาก ต้องใช้เทคนิคพิเศษในการสังเกตการณ์ และยังต้องสังเกตในสถานที่มืดสนิทและปราศจากแสงใดๆ มารบกวนเท่านั้น
บทความภาพถ่ายดาราศาสตร์
หลังโควิด ชวนไปพิชิต “แสงเกเกินไชน์ (Gegenschein)”
ถ่ายภาพดวงจันทร์แบบ Moon HDR
ในคอลัมน์นี้เรายังคงอยู่ภายใต้มาตรการ Lock Down ช่วงเวลานี้วัตถุท้องฟ้าที่เราสามารถถ่ายภาพกันได้ก็ยังคงเป็นดวงจันทร์ เราสามารถถ่ายดวงจันทร์ได้หลากหลายรูปแบบ โดยการถ่ายภาพดวงจันทร์แบบ HDR (High Dynamic Range) นั้นก็เป็นอีกรูปแบบที่ได้ความนิยมในบรรดานักดาราศาสตร์สมัครเล่นต่างประต่างกันอย่างแพร่หลาย แต่ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันกับเทคนิคภาพถ่าย HDR กันก่อนครับ
ความรู้จากภาพถ่าย “ดวงจันทร์” ในช่วงวันอยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ
ดวงจันทร์ของเรามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3,474 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางประมาณ 384,400 กิโลเมตร แม้ว่าดวงจันทร์จะมีขนาดเล็กกว่าโลกมาก แต่ดวงจันทร์ก็มีอิทธิพลกับโลกมาก ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น การเกิดน้ำขึ้นน้ำลง ข้างขึ้นข้างแรม สุริยุปราคา จันทรุปราคา นักวิทยาศาสตร์พบว่า ดวงจันทร์กำลังเคลื่อนที่ห่างจากโลกออกไปเรื่อยๆ เฉลี่ยปีละ 3.8 เซนติเมตร
ช่วงหัวค่ำกลางเดือนเมษา ออกตามล่าดาวหาง (C/2019 Y4) ATLAS
กลางเดือนเมษายนนี้เราอาจมีโอกาสได้เห็นดาวหาง (C/2019 Y4) ATLAS ด้วยตาเปล่า ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ (หากฟ้าใส และไม่มีแสงไฟรบกวน) โดยตำแหน่งดาวหาง ATLAS ในเดือนเมษายนนี้จะอยู่ในทางทิศเหนือใกล้บริเวณกลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major) สามารถถ่ายภาพได้ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายนเป็นต้นไป (ในช่วงต้นเดือนยังมีแสงดวงจันทร์รบกวน)
8 เมษายน นี้เตรียมพร้อมถ่ายภาพ ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี
ในวันที่ 8 เมษายน 2563 นี้เป็นช่วงที่ดวงจันทร์เต็มดวงเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ที่ระยะห่างเพียง 356,897 กม. โดยดวงจันทร์จะมีขนาดใหญ่กว่าปกติเล็กน้อยประมาณ 7.8 % ดังนั้นหากเราได้ถ่ายภาพดวงจันทร์ในคืนกล่าว เราก็จะได้ภาพดวงจันทร์ที่มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติ และหากนำเอาภาพดวงจันทร์ในวันที่ 8 เมษายน ไปเปรียบเทียบกับ ภาพดวงจันทร์ในวันที่ 31 ตุลาคม ในปีเดียวกันนี้ เราก็จะได้ภาพดวงจันทร์ที่เห็นขนาดที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน (ต้องถ่ายด้วยอุปกรณ์เดียวกัน)
ภาพถ่ายดาราศาสตร์บอกคุณภาพท้องฟ้าได้อย่างไร ?
ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติได้จัดกิจกรรม Workshop อบรมถ่ายภาพดาราศาสตร์เขตพื้นที่ท้องฟ้ามืดครั้งแรกในไทย ภายใต้หัวข้อ Dark Sky Astrophotography 2020 ณ อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล ประมาณ 1,700 เมตร จ.เชียงใหม่ ซึ่งจากการวัดค่าด้วย Sky Quality Meter (SQM) พบว่ามีความมืดของท้องฟ้าถึงแมกนิจูด 21.5 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่มืดมาก ส่วนตัวผมคิดว่าที่นี่เป็นอีกสถานที่หนึ่ง ที่นักถ่ายดาวต้องมาลองสักครั้ง เพราะนอกจากความมืดของท้องฟ้าแล้ว ยังมีมุมถ่ายภาพดวงอาทิตย์ตก แสงสนธยา แสงจักรราศี และพื้นที่สำหรับถ่ายภาพ Deep Sky Objects ที่เห็นดาวเหนือและตั้งอุปกรณ์ได้สะดวก หรือมุมถ่ายภาพเส้นแสงดาวสวยๆหลายมุม นอกจากนั้นในทิศตะวันออกก็มีฉากหน้าสวยๆ ไว้สำหรับถ่ายภาพทางช้างเผือกกันได้อีกด้วยครับ
วัตถุท้องฟ้าน่าถ่ายในวันวาเลนไทน์ ส่งท้ายเดือนแห่งความรัก
ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันวาเลนไทน์ เรามักเห็นภาพถ่ายวัตถุท้องฟ้าที่นักดาราศาสตร์โพสต์ทางโซเชียลมีเดีย โดยวัตถุท้องฟ้าที่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดคือ เนบิวลาดอกกุหลาบ (Rosette Nenula) และเนบิวลารูปหัวใจ (Heart Nebula) ซึ่งทั้งสองวัตถุนี้ก็มีรูปร่าง ลักษณะที่สื่อความหมายเกี่ยวกับความรักได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นวัตถุทั้งสอง ยังสามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ
1-8 กุมภาพันธ์ เหล่าพรานดาราเริ่มต้นออกล่าทางช้างเผือก
1-8 กุมภาพันธ์ เหล่าพรานดาราเริ่มต้นออกล่าทางช้างเผือก
ในเดือนกุมภาพันธ์ถือเป็นช่วงเริ่มต้นถ่ายภาพทางช้างเผือกทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงรุ่งเช้า ตั้งแต่เวลาตี 5 เป็นต้นไป โดยในเดือนนี้เราจะสามารถถ่ายภาพแนวใจกลางทางช้างเผือกได้ตั้งแต่วันที่ 1 ไปจนถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ (หลังจากนั้นจะมีแสงดวงจันทร์สว่างรบกวน) ตำแหน่งใจกลางทางช้างเผือกจะอยู่ขนานกับขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะมีเวลาให้เราได้ถ่ายภาพประมาณไม่เกิน 1 ชั่วโมง ช่วงเวลาดังกล่าวจะมีดาวอังคารอยู่ใกล้กับใจกลางทางช้างเผือก ถือเป็นช่วงเริ่มต้นของการออกล่าทางช้างเผือกกันแล้วครับ
ปรากฏการณ์จันทรุปราคาที่น่าติดตามในปี 2563
ในวันที่ 11 มกราคม 2563 ที่ผ่านมาเกิดปรากฏกาณณ์จันทรุปราคาครั้งแรกในรอบปี 2563 ในวันดังกล่าว ผมได้มีโอกาสถ่ายภาพปรากฏการณ์ ซึ่งคืนดังกล่าวสามารถมองเห็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาแบบเงามัวได้ชัดเจนด้วยตาเปล่า อย่างไรก็ตามในช่วงปีนี้เรายังสามารถติดตามถ่ายภาพปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัวได้ ในวันที่ 6 มิถุนายน 2563 เวลาที่ดวงจันทร์ถูกบังมากที่สุด 02.24 น. และวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 เวลาที่ดวงจันทร์ถูกบังมากที่สุด 16.42 น.
รวมปรากฏการณ์ที่น่าติดตามถ่ายภาพ ปี 2020
ในปี 2020 นี้เรามีหลายปรากฏการณ์ที่น่าติดตาม ซึ่งเริ่มตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา วันที่ 3-4 มกราคม ก็เกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกควอดรานติดส์ ซึ่งมีอัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยถึง 120 ดวงต่อชั่วโมง โดยหลังจากนี้ ก็ยังมีปรกฏกาณณ์ทางดาราศาสตร์อีกมากมายให้เราได้ติดตามถ่ายภาพกันได้ตลอดทั้งปี จะมีอะไรที่น่าติดตามถ่ายภาพกันบ้างนั้น มาดูกันเลยครับ
เตรียมพร้อมถ่ายภาพสุริยุปราคา 26 ธันวาคม 2562
คอลัมน์นี้เราจะมาเรียนรู้การเตรียมตัวถ่ายภาพปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วน ส่งท้ายปี 2562 กัน ครับ โดยปรากฏการณ์ครั้งนี้จริงๆ แล้วที่เกิดบนโลกดป็นปรากฏการณ์ “สุริยุปราคาวงแหวน” แนวคราสวงแหวนพาดผ่านประเทศอินเดีย ศรีลังกา สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ส่วนประเทศไทยจะเห็นเป็น “สุริยุปราคาบางส่วน” ดวงจันทร์จะบดบังดวงอาทิตย์บางส่วน ทำให้มองเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่ง สามารถสังเกตได้ทุกภูมิภาคของไทย แต่ละภูมิภาคจะมองเห็นดวงอาทิตย์ถูกบดบังแตกต่างกัน ดวงอาทิตย์จะถูกบดบังมากที่สุดบริเวณภาคใต้ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ประมาณร้อยละ 81 ส่วนภาคเหนือที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ดวงอาทิตย์จะถูกบังเพียงร้อยละ 40 ส่วนกรุงเทพมหานคร ดวงอาทิตย์จะถูกบังประมาณร้อยละ 56 ช่วงเวลาประมาณ 10:19 - 13:57 น. (เวลา ณ กรุงเทพฯ) แต่ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้เทคนิคการเตรียมตัวถ่ายภาพปรากฏการณ์สุริยุปราคา เรามาทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์สุริยุปราคากันก่อนครับ
สิ่งควรรู้ก่อนออกไปสู้ถ่าย Deep Sky Objects (ตอนที่ 2)
คอลัมน์นี้ต่อจากสองสัปดาห์ก่อน จากที่ทำความรู้จักกับประเภทของวัตถุท้องฟ้าแต่ละประเภทกันแล้ว สิ่งที่เราควรทราบสำหรับการถ่ายภาพ Deep Sky Objects ต่อไปก็คือ การเตรียมการถ่ายภาพวัตถุ ซึ่งประกอบด้วยการเลือกวัตถุที่ต้องการถ่ายภาพ การหามุมรับภาพที่เหมาะสม การตรวจสอบปฏิทินดวงจันทร์ การหาข้อมูลสภาพอากาศบริเวณที่เราจะใช้เป็นจุดถ่ายภาพ และการเรียนรู้กระบวนการประมวลผลภาพถ่าย ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่นักถ่ายภาพ Deep Sky Objects ควรทราบก่อนออกไปถ่ายภาพกันครับ โดยมีรายละเอียดดังนี้